× This item is no longer available for purchase.
ใช้งานอยู่

พญาหงษ์มหาลาภ งานปิดทองลูกนิมิต พ.ศ.2538 วัดทุ่งเข็น อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี

Lot 653271

รายการรูปภาพ
Price ฿800.00 THB ( )
This item is available for direct purchase from the seller. No bidding is required.
ตัวเลือกการชำระเงิน
ผู้ขายยอมรับ PayPal

คำแนะนำการชำระเงิน
บัญชี: ธนาคารกรุงเทพ ชื่อบัญชี: สตางค์โบราณ ร.ศ.127 เลขที่บัญชี: 011-7-24498-8 กรุณาชำระเงินภายใน 7 วัน
ตัวเลือกการจัดส่ง
kerry ฿50.00 THB (ค่าส่งเพิ่ม฿10.00 THBสำหรับชิ้นต่อไป)
รายละเอียด
  • Item # 730995
  • Qty Available 1
คำอธิบาย

พญาหงษ์มหาลาภ งานปิดทองลูกนิมิต พ.ศ.2538 วัดทุ่งเข็น อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี

พญาหงษ์มหาลาภ งานปิดทองลูกนิมิต พ.ศ.2538 วัดทุ่งเข็น อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี หงส์ที่ตามหาของพระอาจารย์บุญมีแห่งบ้านทุ่งเข็น สุพรรณบุรี"

"หงส์" คือ สัตว์ศักดิ์สิทธิ์ประจำชนชาติมอญ ดังปรากฏรูปหงส์ทองสยายปีกบินเหนือผืนผ้าแดง มุ่งไปสู่ดวงดาวห้าแฉกสีน้ำเงิน อันเป็นธงชาติมอญในปัจจุบัน สืบเนื่องมาจากตำนานเมืองหงสาวดี อดีตราชธานีอันรุ่งเรืองชองชนชาติมอญ ก่อนจะกลายเป็นเพียงอดีต ซ่อนตัวเงียบสงบในฐานะหัวเมืองเก่าของรัฐชาติพม่า ต่างจากชุมชนบ้านทุ่งเข็นแห่งสุพรรณบุรี ชุมชนมอญที่ก่อนหน้านั้นซ่อนตัวอยู่อย่างสงบ เป็นชุมชนมอญเพียงแห่งเดียวท่ามกลางผู้คนหลากหลายเผ่าพันธุ์ของจังหวัดสุพรรณบุรี ไม่มีผู้คนรู้จักมากนัก วัฒนธรรมมอญต่างกลืนกลายเข้ากับวัฒนธรรมไทยส่วนกลาง แต่ปัจจุบัน ชุมชนแห่งนี้กลับฟื้นคืนความเป็นมอญอย่างโดดเด่น มีศักดิ์ศรี อันเกิดจากสำนึกที่ต้องการฟื้นฟูความเป็นมอญของชาวชุมชนอย่างสำคัญโดยแท้จริง

พระอาจารย์บุญมี หรือ พระครูขันตยานุสิฐ (บุญมี ธมฺมสาโร) เจ้าอาวาสวัดทุ่งเข็น ตำบลทุ่งคอก อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ผู้นำจิตวิญญาณแห่งการฟื้นฟูวัฒนธรรมมอญเมืองสุพรรณฯ รวมทั้งชาวชุมชนบ้านทุ่งเข็นทุกผู้ทุกนาม ต่างเป็นกำลังขับเคลื่อนสำคัญทั้งในชุมชนของตนเองและร่วมเข้าเป็นเครือข่ายวัฒนธรรมของชุมชนมอญทั่วประเทศ ทำให้งานกิจกรรมวัฒนธรรมมีสีสันและน่าสนใจอย่างยิ่งมาโดยลำดับ
ในที่นี้ขอหยิบยกบทความ "หงส์ที่ตามหา" โดย ดร.ภาสกร อินทุมาร อาจารย์ประจำคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในนิตยสารเสียงรามัญ ฉบับที่ 11 กันยายน-ตุลาคม 2550 มาลงไว้ ดังนี้

[ 1 ]

“เออ! อย่างนี้สิหงส์มอญ หาแบบอยู่ตั้งนาน...”
นั่นคือคำพูดของ “พระสมุห์บุญมี ธมมสาโร” เจ้าอาวาสวัดทุ่งเข็น อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ที่เอ่ยขึ้นเมื่อเพื่อนผมถวายหนังสือเล่มสีแดงที่มีหน้าปกเป็นรูปหงส์แก่ท่าน

[ 2 ]

ไม่ต่างกันนักกับการไปลำพูนเมื่อครั้งก่อน ที่เรามีข้อมูลเพียงแค่ว่าจังหวัดนี้มีชุมชนมอญเล็กๆ แอบซ่อนอยู่ท่ามกลางชุมชนของคนท้องถิ่น เรายังคงต้องถามทางไป “วัดทุ่งเข็น” เช่นเดียวกับการถามทางไปวัดเกาะกลางที่ลำพูน และก็เช่นเดียวกัน ที่เมื่อเราไปถึงที่นั่น เราก็พบว่าทั้งวัดเกาะกลางแห่งลำพูนและวัดทุ่งเข็นแห่งสุพรรณ ยังคงมีเรื่องราวของคนมอญอยู่ไม่น้อยเลย
เจ้าอาวาสคือเป้าหมายแรกของเรา การเดินสำรวจวัดจึงเป็นสิ่งแรกที่ทำเมื่อไปถึง แต่ก่อนที่จะพบเจ้าอาวาส เราพบว่าบนศาลามีคุณยาย 3 คนนั่งคุยกันอยู่ เราจึงเดินเข้าไปแนะนำตัวว่าเรามาที่นี่ด้วยเหตุใด และสิ่งที่ทำให้เราชื้นใจว่าที่นี่ยังคงมีเรื่องราวของคนมอญอยู่ก็คือการที่คุณยาย 2 ใน 3 คน ยังคงพูดภาษามอญ ส่วนอีกคนพูดไม่ได้เพราะเป็นคนไทย แต่ก็รู้เรื่องราวที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมมอญมากมาย เพราะคุณยายท่านนี้แต่งงานกับคนมอญ การพบคุณยายทั้งสามจึงทำให้เราแน่ใจว่าที่นี่ยังคงมีความเป็นมอญหลงเหลืออยู่ เราถามถึงเจ้าอาวาสว่าท่านเป็นคนมอญด้วยหรือไม่ คุณยายบอกว่าไม่แน่ใจ...

[ 3 ]

ก่อนจะพบเจ้าอาวาสอีกเช่นกัน ที่เราเห็นว่ากำแพงโบสถ์ของวัดทุ่งเข็นเป็นกำแพงที่สร้างขึ้นจากประติมากรรมรูปหงส์เรียงรายอยู่โดยรอบ สองข้างของประตูโบสถ์ก็มีหงส์ยืนตระหง่าน ตราสัญลักษณ์ของวัดก็เป็นรูปหงส์ แต่หงส์ทั้งหลายนี้กลับมีรูปลักษณ์ที่แตกต่างไปจากหงส์บนปกหนังสือเล่มแดงที่เพื่อนผมถือมา...

ในที่สุดเราก็พบพระอาจารย์บุญมี เจ้าอาวาสของวัด รวมทั้งพบว่าท่านมีเชื้อสายมอญเพราะแม่ของท่านเป็นคนในตระกูล “ใจซื่อ” ซึ่งเป็นตระกูลมอญของที่นั่น ถึงแม้ว่าพระอาจารย์จะพูดมอญไม่ได้ แต่ท่านก็ได้พยายามทำสิ่งต่างๆ มากมายเพื่อยืนยันความเป็นมอญของคนทุ่งเข็น ไม่ว่าจะเป็นการพยายามค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และภาษามอญ ความตั้งใจในการฟื้นฟูภาษามอญ และหวังจะให้มีการสอนภาษามอญเกิดขึ้น การเทศน์คาถาพันในงานออกพรรษาก็พยายามรักษาลักษณะมอญเอาไว้ เจดีย์ที่กำลังสร้างก็มีรูปทรงเช่นเจดีย์มอญ ที่ชัดเจนและเห็นเป็นรูปธรรมมากที่สุดก็คือการรักษา “หงส์” ไว้ทั้งที่กำแพงโบสถ์และในตราสัญลักษณ์ของวัด รวมทั้งของที่ระลึกของวัดซึ่งท่านมอบแก่เราก็เป็นรูปหงส์เช่นกัน

[ 4 ]

หงส์ของวัดทุ่งเข็นมีรูปลักษณ์ต่างจากหงส์แบบมอญ คำพูดของท่านอาจารย์บุญมีที่ว่า “เออ! อย่างนี้สิหงส์มอญ หาแบบอยู่ตั้งนาน...” ได้สะท้อนให้เห็นว่า “แบบ” ของความเป็นมอญที่ทุ่งเข็นได้แปรเปลี่ยนไปจากแบบดั้งเดิมของเมื่อร้อยปีที่แล้ว ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่คนมอญได้เคลื่อนย้ายจากดอนกระเบื้อง ราชบุรี มายังที่นี่ แบบหงส์และแบบมอญของวันนี้จึงไม่เหมือนเดิม ซึ่งนั่นก็คงเป็นเพราะทุ่งเข็นเป็นชุมชนมอญที่ต้องดำรงอยู่ท่ามกลางคนท้องถิ่นสุพรรณ ทำให้คนมอญต้องเรียนรู้และปรับตัวเพื่อที่จะอยู่กับคนสุพรรณให้ได้อย่างราบรื่น ลักษณะความเป็นมอญจึงอาจเปลี่ยนรูปไปบ้างดังเช่นแบบของหงส์ที่เปลี่ยนไป

ถึงแม้แบบของหงส์ของที่นี่จะเปลี่ยนไป แต่อย่างไรก็ยังคงเป็นหงส์ เช่นเดียวกับการที่พระอาจารย์บุญมีพูดมอญไม่ได้ รวมทั้งไม่มีต้นแบบหงส์มอญมาใช้ในการออกแบบหงส์ของวัด แต่พระอาจารย์ก็พยายามตามหาหงส์ต้นแบบ และตามหาความเป็นมอญให้กลับคืนมายังทุ่งเข็น…

[ 5 ]

เรากลับไปที่วัดทุ่งเข็นอีกครั้งหลังจากที่เราแน่ใจแล้วว่าเราจะทำ “เสียงรามัญ” ฉบับ “มอญสุพรรณบุรี” กลับไปครั้งนี้พระอาจารย์บุญมีเล่าให้ฟังว่า หนังสือเล่มแดงหน้าปกรูปหงส์ ซึ่งเป็นเรื่องราวของคนมอญเมืองไทยที่กลับไปตามหารากเหง้าของตนที่มะละแหม่ง ที่เพื่อนผมถวายให้ท่านเมื่อคราวก่อนนั้นมีคนขอยืมไปอ่าน จนบัดนี้ยังไม่กลับมาถึงมือพระอาจารย์เลย คราวนี้เราก็เลยถวายเสียงรามัญฉบับก่อนๆให้ท่าน ซึ่งท่านก็บอกว่าจะเอาไปไว้ใน “ห้องสมุดเคลื่อนที่” ที่ท่านกำลังจะทำ
เรื่องของห้องสมุดเคลื่อนที่ทำให้นึกถึงเรื่องหงส์อีกครั้ง หงส์ของวัดทุ่งเข็นคือหงส์ที่เคลื่อนที่มาจากต้นกำเนิดเดิม รูปลักษณ์ของหงส์จึงเปลี่ยนไป แต่การเคลื่อนที่ของหงส์ในครั้งก่อนคงจะแตกต่างไปจากการเคลื่อนที่ของห้องสมุด เพราะในวันที่ห้องสมุดของพระอาจารย์บุญมีได้เริ่มเคลื่อน เรื่องราวของความเป็นมอญก็คงจะได้เคลื่อนไปในทุกหนทุกแห่งของทุ่งเข็น และเมื่อถึงวันนั้น หงส์แห่งวัดทุ่งเข็นก็คงจะกลับมามีรูปลักษณ์ดังเช่น “หงส์ที่ตามหา” ของพระอาจารย์บุญมีในที่สุด...

ดร.ภาสกร อินทุมาร

ปล. ปัจจุบัน วัฒนธรรมประเพณีมอญดั้งเดิมของบ้านทุ่งเข็นยังคงธำรงอยู่อย่างโดดเด่น เป็นที่รู้จักของชุมชนพหุวัฒนธรรมรายรอบ ภาคส่วนราชการในจังหวัด และชุมชนมอญทั่วประเทศ รวมทั้งมีการฟื้นฟูประเพณีวัฒนธรรมที่ขาดหายกลับคือมา เช่น การแต่งกาย และอาหารการกิน เป็นต้น...รวมทั้ง “หงส์” ที่ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ความเป็นมอญ ก็เพิ่มมากขึ้นและเป็นมากกว่าสัญลักษณ์ให้รับรู้ว่าชุมชนแห่งนี้เป็นชุมชนของชาวมอญเท่านั้น เพราะ “หงส์ที่ตามหาของพระอาจารย์บุญมี” และได้พบแล้วนั้น กลายเป็นศูนย์รวมจิตใจของผู้คน เป็นเครื่องหมายศักดิ์สิทธิ์ และซึมซาบอยู่ในวิถีชีวิตของคนบ้านทุ่งเข็นอย่างเป็นรูปธรรม อยู่ในผ้าสไบ เสื้อยืดโปโล หนังสือ สติ๊กเกอร์ข้างรถ ปูนปั้นประดับป้ายชื่อวัด เชิงชายสิ่งก่อสร้างภายในวัด และเสาหงส์อันเป็นสัญลักษณ์ของวัดมอญ ทั้งในทางพุทธศาสนาและตำนานชนชาติมอญ และที่มากกว่านั้นคือ เมื่อพวกเขาได้เห็นหงส์ หงส์ที่เห็นจะไม่ใช่หงส์ตามความหมายทั่วไป แต่หมายถึงความเป็นมอญที่จะต้องคงอยู่คู่หมู่บ้านแห่งนี้ตราบนานเท่านาน

⛔ รับประกัน 💯
ติดต่อ - ไลน์ไอดี : VVCOIN , ☎ โทร.088-556-9499
บัญชีธนาคาร : ธนาคารกรุงเทพ
ชื่อบัญชี : สตางค์โบราณ ร.ศ.127
เลขที่บัญชี : 011-7-24498-8

SWIFT CODE:    BKKBTHBK
BANK:  BANGKOK BANK PUBLIC COMPANY LIMITED
BRANCH: Poonsap Market 1645
BENEFICIARY’S ACCOUNT NO. : 0117244988
ACCOUNT NAME: STANGBORAN R.S.127

If you are interested, please call 088-556-9499 or Line ID: VVCOIN https://line.me/ti/p/a0jXr1l1It

ไม่มีคำถามสำหรับรายการนี้