× This item is no longer available for purchase.
ใช้งานอยู่

พระผงหลวงพ่อทวด ๕๐ ปี โรงเรียนวัดควนวิเศษมูลนิธิ ตรัง

Lot 653220

รายการรูปภาพ
Price ฿800.00 THB ( )
This item is available for direct purchase from the seller. No bidding is required.
ตัวเลือกการชำระเงิน
ผู้ขายยอมรับ PayPal

คำแนะนำการชำระเงิน
บัญชี: ธนาคารกรุงเทพ ชื่อบัญชี: สตางค์โบราณ ร.ศ.127 เลขที่บัญชี: 011-7-24498-8 กรุณาชำระเงินภายใน 7 วัน
ตัวเลือกการจัดส่ง
kerry ฿50.00 THB (ค่าส่งเพิ่ม฿10.00 THBสำหรับชิ้นต่อไป)
รายละเอียด
  • Item # 730281
  • Qty Available 1
คำอธิบาย

พระผงหลวงพ่อทวด ๕๐ ปี โรงเรียนวัดควนวิเศษมูลนิธิ ตรัง

เรื่องราวของ หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด คงเป็นที่รู้จักของชาวไทยทั้งชาวพุทธ ชาวมุสลิม ไม่น้อย โดยเฉพาะในพื้นที่บริเวณภาคใต้ของไทยตั้งแต่พัทลุง สงขลา ปัตตานี เลยไปถึงไทรบุรีในประเทศมาเลเซีย หลวงปู่ทวดถือว่าเป็นพระเกจิอาจารย์ในตำนานที่มีผู้ศรัทธาจำนวนมากรูปสำคัญหนึ่งในสองรูปของเมืองไทยคู่กับสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) หรือหลวงปู่โตที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์

 

เรื่องของหลวงพ่อทวดสามารถแยกได้เป็นสองเรื่องราว คือ เรื่องราวตามประวัติศาสตร์ซึ่งปรากฏนามว่า “สมเด็จเจ้าพะโคะ” จากเอกสารท้องถิ่น และเรื่องราวตามตำนานซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม “หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด”

 

เรื่องสมเด็จเจ้าพะโคะนั้น ปรากฏอยู่ในคำบอกเล่าสืบต่อกันมาของท้องถิ่นต่างๆ แล้วบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร รวบรวมไว้ใน “พระตำราบรมราชูทิศเพื่อกัลปนา” ที่พระมหากษัตริย์ทรงพระราชูทิศพระราชทานที่ดินไร่นาอันเป็นของหลวงให้แก่พระสงฆ์แห่งพุทธศาสนา ใช้บำรุงรักษาวัดวาอาราม รวมทั้งผู้คนชายหญิงซึ่งเรียกว่าถวายข้าพระโยมสงฆ์ให้แก่วัด(ตำราประชุมพระตำราบรมราชูทิศเพื่อกัลปนาสมัยอยุธยาภาค๑ จัดพิมพ์โดย คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๑๐)

 

เขาพะโคะเดิมชื่อ “เขาภีพัชสิง” หรือ “พิเพชรสิง”คำว่า “เขาพะโคะ” สันนิษฐานว่าเป็นเสียงเพี้ยนมาจากพระพุทธรูปปางไสยาสน์ที่เรียกว่า “พระโคตมะ” บริเวณโดยรอบเป็นแหล่งชุมชนโบราณมาตั้งแต่อดีต เป็นบริเวณที่มีความเจริญรุ่งเรืองจากการทำการค้า ทำให้บ้านเมืองแถบนี้ถูกโจมตีจากโจรสลัดมลายูบ่อยครั้ง วัดพะโคะกลายเป็นเมืองถูกปล้นและเผาบ้านเมืองครั้งใหญ่ โดยบันทึกไว้ว่า ราวปลายสมัยสมเด็จพระนเรศวรบ้านเมืองระส่ำระสายไม่สามารถฟื้นตัวได้ โดยเจ้าอาวาสวัดพะโคะซึ่งเคยอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาและน่าจะเป็นพระสงฆ์ผู้มีบารมีพอสมควรในฐานะพระผู้ใหญ่ จึงขอพระราชทานการบูรณะวัดครั้งสำคัญในสมัยของพระเอกาทศรถ เมื่อ พ.ศ. ๒๑๕๓

 

พระมหากษัตริย์ที่กรุงศรีอยุธยาโดยพระราชทานพระบรมราชูทิศกัลปนาวัดต่างๆ ตั้งแต่บริเวณปากทะเลสาบสงขลาที่หัวเขาแดงจนถึงเขาพังไกร ทั้งหมดราว ๖๓ วัด ขึ้นกับวัด หลังจากนั้นอีกราวสิบกว่าปีต่อมา โจรสลัดจากปลายแหลมมลายูก็เข้าปล้นบ้านเมืองอีกครั้ง ต่อจากนั้นก็ไม่ปรากฏเรื่องสมเด็จเจ้าพะโคะในเอกสารอื่นใดอีกเลย

 

อย่างไรก็ตาม วัดพะโคะ มีการบูรณะขึ้นใหม่และมีชื่อแบบเมืองหลวงว่า วัดราชประดิษฐาน อีกทั้งมีการขอกัลปนาไร่นาข้าพระขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง พบเอกสารที่ถูกรวบรวมไว้ที่หอสมุดวชิรญาณอีกเช่นกัน คือ แผนที่ภาพกัลปนาวัดพะโคะ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา มีขนาดยาวมาก นับรวมได้ถึง ๓๘ คู่ แผนที่ฉบับนี้เขียนขึ้นภายหลัง พ.ศ. ๒๒๒๓ แต่ก่อน พ.ศ. ๒๒๔๒ เขียนขึ้นหลังจากปราบขบถเมืองสงขลาได้แล้ว และเจตนาในการเขียนก็เพื่อบอกเขตหัวเมืองพัทลุงฝ่ายตะวันออก ซึ่งตรงกับสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชซึ่งทำให้เห็นความหนาแน่นของวัดวาอาราม อันแสดงถึงความมั่นคงทางศาสนาและชุมชนที่เป็นอิสระจากรัฐท้องถิ่นและส่วนกลางมากพอที่จะมีอิสระในการทะนุบำรุงชุมชนหมู่บ้านและวัดของพวกตนให้รุ่งเรือง ดังภาพจิตรกรรมเพื่อการกัลปนานั้นแสดงไว้

 

การกัลปนาที่ดินและข้าพระโยมสงฆ์นั้น น่าจะเป็นเครื่องมือสำคัญของการปกครองบ้านเมืองในขณะนั้น ยามที่บ้านเมืองระส่ำระสาย อำนาจบารมีของพระมหากษัตริย์ไม่สามารถแผ่ลงไปทั่วแผ่นดินได้ การอาศัยพระพุทธศาสนาเป็นเครื่องค้ำจุนความมั่นคงย่อมเป็นไปได้ง่ายกว่า ด้วยความใกล้ชิดระหว่างพระศาสนากับบรรดาผู้คนในท้องถิ่น การยกศาสนสถานเป็นศูนย์รวมจิตใจให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันที่ทำให้สร้างความสามัคคีได้ไม่ยากลำบากนัก สมเด็จเจ้าพะโคะกลายเป็นผู้นำทางศาสนาที่พุทธศาสนิกชนทั้งหลายให้ความเคารพนับถือ กลายเป็นผู้นำท้องถิ่นที่มีบทบาทอำนาจเหนือบรรดาขุนนาง อำมาตย์ และวัดพะโคะกลายเป็นปราการสำคัญที่คอยต้านอำนาจของศาสนาอิสลาม และป้องกันการโจมตีของโจรสลัดซึ่งเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการสร้างความมั่นคงให้ราชอาณาจักร

 

 ในอีกแง่มุมหนึ่งตามตำนานของหลวงพ่อทวดที่สืบทอดกันมาในท้องถิ่นแถบสทิงพระ ชีวประวัติที่เต็มไปด้วยอภินิหาร เล่ากันว่า “หลวงพ่อทวด” เกิดในราว พ.ศ. ๒๑๒๕  ณ บ้านสวนจันทร์ เมืองสทิงพระ มีชื่อว่า “ปู่” หรือ “ปู” บิดาคือ ตาหู มารดาคือ นางจันทร์ ปลูกบ้านอาศัยที่ดินเศรษฐีผู้หนึ่งไว้ชื่อ ปาน ตาหูและนางจันทร์เป็นคนในอุปภัมถ์ของเศรษฐีปาน ระหว่างที่พ่อแม่กำลังเกี่ยวข้าวอยู่ได้ผูกเปลให้ลูกนอน นางจันทร์ก็เห็น “งูใหญ่” มาพันที่เปลลูกแล้วชูคอแผ่แม่เบี้ย นายหูและนางจันทร์พนมมือบอกเจ้าที่เจ้าทาง ขออย่าให้ลูกน้อยได้รับอันตราย ด้วยอำนาจบารมีของเด็กน้อย งูใหญ่จึงคลายลำตัวออกจากเปลเลื้อยหายไป ปรากฏว่าเด็กชายปู่ยังคงนอนหลับสบายเป็นปกติ และมีลูกแก้วกลมส่องเป็นประกายอยู่ข้างตัว ตาหูนางจันทร์มีความเชื่อว่า เทวดาแปลงกายเป็นงูใหญ่นำดวงแก้ววิเศษมามอบให้กับลูกของตน นับแต่นั้นมาฐานะความเป็นอยู่ของครอบครัวก็ดีขึ้นเรื่อยๆ

 

เมื่อเด็กชายปู่เติบโตได้ไปศึกษาวิชาความรู้กับสมภารจวง และไปอุปสมบทที่สำนักพระครูกาเดิม  วันหนึ่งในขณะที่เดินทางไปกรุงศรีอยุธยาโดยเรือสำเภา ท้องทะเลฟ้าวิปริตเกิดพายุ ทอดสมออยู่หลายวันจนน้ำจืดหมด เจ้าของเรือจึงไล่พระภิกษุปู่ลงเรือเล็กส่งฝั่งหมาย ระหว่างที่ภิกษุปู่นั่งในเรือเล็กได้หย่อนเท้าลงในน้ำทะเลและบอกให้ตักชิมดู ปรากฏเป็นน้ำจืดอย่างน่าอัศจรรย์

 

ภิกษุปู่ได้เดินทางออกธุดงค์ตามสถานที่ต่างๆ ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ จนมาถึงวัดพะโคะที่มีความทรุดโทรมมาก จึงได้เดินทางไปกรุงศรีอยุธยาเพื่อขอพระราชทานพระกัลปนา นายช่างหลวงจึงบรรทุกศิลาแลงลงเรือสำเภามาบูรณะซ่อมแซมวัดพะโคะ และได้รับพระราชทานที่ดินนาถวายเป็นกัลปนาขึ้นแก่วัดพัทสิงห์บรรพตพะโคะ ในตำนานกล่าวว่าท่านหายไปจากวัดพะโคะ

 

ส่วนอีกตำนานหนึ่งซึ่งชาวพุทธในจังหวัดปัตตานีเชื่อว่าหลวงปู่ทวดคือพระรูปเดียวกับตำนานพระสงฆ์ที่เดินทางจาริกแสวงบุญเผยแผ่ศาสนาแถบอำเภอหนองจิกไปจนถึงไทรบุรี คนทั่วไปเรียกว่า ท่านลังกา จนเมื่อมรณภาพที่เมืองไทรบุรี เส้นทางที่นำศพท่านกลับมาที่วัดช้างให้ ชาวบ้านยังจดจำระลึกถึงสถานที่ต่างๆ ที่ท่านลังกาเดินทางผ่าน และต่อมาในราว พ.ศ. ๒๔๙๗  ทางวัดช้างให้จัดสร้างพระเครื่องหลวงปู่ทวดเป็นวัตถุมงคลจนมีชื่อเสียง โดยเขียนตำนานท่านลังกาองค์ดำคือหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืดองค์เดียวกับสมเด็จเจ้าพะโคะที่วัดพะโคะ จึงกลายเป็นที่รู้จักว่าในนาม “หลวงปู่ทวด วัดช้างให้”และผู้คนก็ลืมเลือนหรือไม่รู้จักสมเด็จเจ้าพะโคะในตำนานท้องถิ่นของชาวสทิงพระคาบสมุทรสงขลาไป

 

การผนวกกันระหว่างบันทึกทางประวัติศาสตร์กับตำนาน ทำให้เรื่องของหลวงพ่อทวดยังเป็นที่เล่าต่อมาจนปัจจุบัน สถานที่ที่ปรากฏในตำนานและสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับหลวงพ่อทวดถูกเก็บรักษาไว้อย่างดี เช่น ต้นเลียบขนาดใหญ่ที่เชื่อกันว่าฝังรกของหลวงปู่ทวดไว้ ที่ได้รับการดูแลรักษาเป็นอย่างดี ถือเป็นตัวแทนของหลวงปู่ทวด มีการสร้างศาลาตาหู-ยายจันทร์ โยมบิดามารดาของหลวงปู่ทวดไว้ในบริเวณใกล้เคียงกัน สถูปสมภารจวง พระอาจารย์องค์แรกของหลวงปู่ทวดที่วัดดีหลวง เป็นต้นสถานที่เหล่านี้ทำให้ตำนานของหลวงพ่อทวดยังคงโลดแล่นในความทรงจำ

 

เรื่องราวเหล่านี้ทำให้สถานะของสมเด็จเจ้าพะโคะ หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด นอกจากจะเป็นพระเกจิอาจารย์ผู้มีคุณูปการต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา เป็นผู้มีบทบาทนำในการปกป้องประชาชนจากการปล้นของโจรสลัดมลายูแล้ว ยังเป็นผู้นำทางวัฒนธรรมที่ส่งผ่านมาสู่ชนรุ่นหลังได้เรียนรู้เรื่องราวในท้องถิ่น มีสิ่งยึดเหนี่ยวร่วมกัน ที่ทำให้ท้องถิ่นมีความเป็นหนึ่งเดียว ดังเห็นได้จากครั้งเมื่อน้ำท่วมใหญ่ภาคใต้ใน พ.ศ. ๒๕๕๓ ผู้คนบริเวณใกล้เคียงต่างพากันละทิ้งบ้านเรือนขึ้นไปวัดพะโคะ บ้างร้องไห้ บ้างโศกเศร้า กราบไหว้ขอให้บารมีของสมเด็จเจ้าพะโคะคุ้มครองท่ามกลางความสิ้นหวัง


⛔ รับประกัน 💯
ติดต่อ - ไลน์ไอดี : VVCOIN , ☎ โทร.088-556-9499
บัญชีธนาคาร : ธนาคารกรุงเทพ
ชื่อบัญชี : สตางค์โบราณ ร.ศ.127
เลขที่บัญชี : 011-7-24498-8

SWIFT CODE:    BKKBTHBK
BANK:  BANGKOK BANK PUBLIC COMPANY LIMITED
BRANCH: Poonsap Market 1645
BENEFICIARY’S ACCOUNT NO. : 0117244988
ACCOUNT NAME: STANGBORAN R.S.127

If you are interested, please call 088-556-9499 or Line ID: VVCOIN https://line.me/ti/p/a0jXr1l1It

ไม่มีคำถามสำหรับรายการนี้