× This item is no longer available for purchase.
ใช้งานอยู่

เหรียญหลวงพ่อทองอยู่ (พระครูสุตาธิการี) วัดใหม่หนองพะองค์ จ.สมุทรสาคร พ.ศ. 2512

Lot 653445

รายการรูปภาพ
Price ฿5,000.00 THB ( )
This item is available for direct purchase from the seller. No bidding is required.
ตัวเลือกการชำระเงิน
ผู้ขายยอมรับ PayPal

คำแนะนำการชำระเงิน
บัญชี: ธนาคารกรุงเทพ ชื่อบัญชี: สตางค์โบราณ ร.ศ.127 เลขที่บัญชี: 011-7-24498-8 กรุณาชำระเงินภายใน 7 วัน
ตัวเลือกการจัดส่ง
kerry ฿50.00 THB (ค่าส่งเพิ่ม฿10.00 THBสำหรับชิ้นต่อไป)
รายละเอียด
  • Item # 822832
  • Qty Available 1
คำอธิบาย

เหรียญหลวงพ่อทองอยู่ (พระครูสุตาธิการี) วัดใหม่หนองพะองค์ จ.สมุทรสาคร พ.ศ. 2512 ((องค์ที่.๑)) ที่ระลึกงานฉลองอายุครบ 80 ปี พ.ศ. 2509 เนื้อทองแดงรมดำ .....
หลวงพ่อ ทองอยู่ วัดใหม่หนองพะองค์ ท่านเป็นสหธรรมิกกับหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ในงานปลุกเสกวัตถุมงคลแทบทุกงานมีหลวงพ่อทองอยู่ ก็มักจะมีหลวงปู่โต๊ะ ด้วยเสมอ
หลวงพ่อทองอยู่เป็นพระเถระยุคเก่าที่แก่กล้าด้วยอาคม ท่านเกิดในตระกูลสิงหเสนี

หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง หรือ พระครูสุตาธิการี อดีตเจ้าอาวาสวัดใหม่หนองพะอง ตำบลสวนหลวง อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร พื้นเพท่านเป็นคนกรุงเทพฯมีชื่อเดิมว่า ทองอยู่ ชมปรารภ ต่อมาเปลี่ยนเป็น สิงหเสนี

         ท่านเกิดเมื่อวันเสาร์ที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๓๐ ตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ ปีกุน โยมบิดาชื่อนายคำ ชมปรารภ โยมมารดาชื่อนางปั่น ชมปรารภ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๕ คน โดยท่านเป็นบุตรคนที่ ๓ ดังรายชื่อ

         ๑. นายหุ่น ชมปรารภ

         ๒. นางจิบ ชมปรารภ

         ๓. พระครูสุตาธิการี (ทองอยู่) ชมปรารภ (สิงหเสนี)

         ๔. นางหน่าย ชมปรารภ

         ๕. นางรอด ชมปรารภ

         ในวัยเด็กนั้นหลวงพ่อทองอยู่ ท่านถือเป็นเด็กที่มีความเฉลียวฉลาดกว่าเด็กทั่วไป ท่านได้คลุกคลีอยู่กับวัดมาโดยตลอด ตั้งแต่ช่วยงานการสร้างพระอุโบสถวัดหนองพะอง และช่วยเหลืองานในวัดมาโดยตลอด

         ท่านมีนิสัยรักเพื่อนพ้อง โอบอ้อมอารี ในทางพุทธาคม ท่านได้เรียนวิชาอาคมจาก พระอาจารย์แห ปัญจสุวัณโณ เจ้าอาวาสวัดหนองพะอง นอกจากนั้น ท่านสนใจวิชาการเล่นแร่แปรธาตุศึกษาจนสามารถนำแร่ปรอทมาหุงให้เป็นทองคำได้

         เมื่อเติบใหญ่จนท่านมีอายุครบกำหนดเข้ารับการคัดเลือกเป็นทหารเรือ ซึ่งตรงกับรัชสมัยของรัชกาลที่ ๕ ท่านจึงสมัครเข้ารับราชการเป็นทหารเรือ

         จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๖  จึงลาออกจากราชการ มาประกอบอาชีพการทำนาอยู่ข้างวัดบึงพระยาสุเรนทร์ เขตมีนบุรี จังหวัดกรุงเทพฯ หลวงพ่อทองอยู่ ได้ช่วยพ่อแม่ประกอบอาชีพกสิกรรมและมีความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ ด้วยการเลี้ยงดูท่านเป็นการสนองน้ำใจของพ่อแม่

         หลวงพ่อทองอยู่ ได้ใช้ชีวิตการครองเรือนมีภรรยาคือนางหนู ชมปรารถ มีบุตร ๒ คน คือ นายย้อย ชมปรารถ และนางแย้ม ชมปรารถ จนกระทั่งเมื่อนางหนูเสียชีวิต จึงได้นางทองสุขเป็นภรรยา มีอีกบุตร ๑ คน คือนายหยด ชมปรารถ

         ปี พ.ศ. ๒๔๖๑ ท่านมีอายุได้ ๓๑ ปี หลวงพ่อท่านเริ่มเบื่อหน่ายทางโลก ท่านจึงกราบลาพ่อแม่เพื่อที่จะเข้ารับการบรรพชาอุปสมบท โดยมีขุนหนองแขมเขมกิจ เป็นผู้ดำเนินการจัดการอุปสมบทให้ ณ พัทธสีมาวัดใหม่หนองพะอง ตำบลสวนหลวง อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ในวันที่ ๑๕ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๔๖๑ ขึ้น ๗ ค่ำเดือน ๘ โดยมี

         พระครูสังวรศีลวัตร (หลวงพ่ออาจ) วัดดอนไก่ดี เป็นพระอุปัชฌาย์

         พระครูถาวรสมศักดิ์ (หลวงพ่อคง) วัดนางสาว เป็นพระกรรมวาจาจารย์

         พระอธิการแห วัดใหม่หนองพะอง เป็นพระอนุสาวนาจารย์

         หลังจากที่หลวงพ่อทองอยู่ ได้รับการอุปสมบทแล้วท่านได้อยู่จำพรรษาที่วัดใหม่หนองพะองเรื่อยมา เพื่อศึกษาหลักธรรมวินัยจนมีความรู้พอสมควร เมื่อครบพรรษาแรก จิตใจรู้สึกสงบ และทราบซึ้งในรสพระธรรม

         ปี พ.ศ. ๒๔๖๒ หลังจากออกพรรษาแล้ว ท่านได้ขอลาพระอาจารย์แห ออกธุดงค์เพื่อแสวงหาโมกขธรรมและศึกษาวิชาอาคม ตามแบบที่นิยมกันในสมัยนั้น

         ในสมัยที่ท่านยังมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ท่านได้ธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพรกว่า ๓๐ ปี ไปในที่ทุรกันดารต่างๆ ที่ใดที่มีพระอาจารย์เก่งกล้าทางคาถาอาคม หรือ เก่งทางด้านปฏิบัติธรรม ก็จะไปฝากตัวเป็นศิษย์เพื่อขอศึกษาวิชาความรู้ต่างๆ

         การออกธุดงค์ของหลวงปู่ทุกครั้ง หลวงพ่อแหจะคอยควบคุมดูแลอยู่ที่วัดว่าหลวงพ่อทองอยู่ ไปอยู่ที่ไหน เมื่อมีญาติพี่น้องของพระที่ออกไปธุดงค์มาถาม ท่านก็จะตอบได้ว่าสบายดี ไม่มีอุปสรรคอันตรายอะไร

         ในการออกธุดงค์ของหลวงพ่อทองอยู่ ได้พบปะสนทนากับพระธุดงค์หลายรูปด้วยกัน ในจำนวนนั้นก็มีครูบาศรีวิชัย หลวงพ่อทองอยู่ได้สนทนาธรรมกันเป็นที่ถูกอัธยาศัยของกันและกัน เมื่อเวลาที่หลวงพ่อออกธุดงค์ไปทางเหนือท่านจะแวะไปพักสนทนาธรรมศึกษาวิชา

         ความรู้ของกันและกันเสมอมาเป็นที่รู้ใจกันในวิชาความรู้ในวิชาสมถภาวนาและ วิปัสสนาภาวนา ซึ่งท่านครูบาศรีวิชัย ได้เคยชักชวนหลวงพ่อทองอยู่ ให้อยู่กับท่านด้วยกัน แต่หลวงพ่อทองอยู่ยังติดภาระที่ต้องดูแลทางวัดอยู่จึงเดินทางกลับมา

         นอกจากนี้หลวงพ่อทองอยู่ ท่านได้ขอเรียนวิชาเพิ่มเติมจากหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา ซึ่งท่านเป็นยอดพระเกจิที่เก่งมากๆ ในสมัยนั้น

         ปี พ.ศ. ๒๔๗๓ พระอธิการแหได้ถึงแก่มรณภาพ ชาวบ้านและคณะกรรมมการวัดจึงนิมนต์หลวงพ่อทองอยู่ ซึ่งขณะนั้นบวชได้ ๑๒ พรรษา ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสทดแทนตำแหน่งที่ว่างลง

         วัดหนองพะอง เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในหมู่ที่ ๗ บ้านหลักสี่ ตำบลสวนหลวง อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร วัดสร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๒๕ ชาวบ้านเรียกว่า วัดใหม่หนองพะอง โดยนางเปาะ จุลสิงห์ เป็นผู้ถวายที่ดินให้สร้างวัด ต่อมานายไล้ คุณรักษา และนางเพี้ยน คุณรักษา ได้ถวายที่ดินเพิ่มขึ้นอีก

         พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคมาขึ้นพักที่ศาลาท่าน้ำของวัด ในกาลนั้นได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อสร้างอุโบสถเป็นจำนวนเงินห้าร้อยบาทถ้วน วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๓ มีรายนามเจ้าอาวาสดังนี้

         ๑. พระคง

         ๒. พระทอง

         ๓. หลวงพ่อกล่อม

         ๔. หลวงพ่อพูล พ.ศ. ๒๔๓๙ - ๒๔๔๖

         ๕. หลวงพ่อเหนี่ยง พ.ศ. ๒๔๔๖ - ๒๔๕๑

         ๖. หลวงพ่อท้วม พ.ศ. ๒๔๕๑ - ๒๔๕๔

         ๗. หลวงพ่อแห พ.ศ. ๒๔๕๔ - ๒๔๗๓

         ๘. พระครูสุตาธิการี (หลวงพ่อทองอยู่) พ.ศ. ๒๔๗๓ - ๒๕๒๖

         ๙. พระครูสีลาธิการี พ.ศ. ๒๕๒๖ – ปัจจุบัน

         หลังจากที่หลวงพ่อทองอยู่ได้ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสวัด ท่านได้พัฒนาวัดอย่างสุดความสามารถ ทั้งการสร้างเสนาสนะต่างๆ นอกจากนี้ท่านยังอบรมสั่งสอนชาวบ้านให้อยู่ในศีลในธรรม ประกอบสัมมาอาชีพสุจริต

         ปี พ.ศ. ๒๕๐๑ ด้วยคุณงามความดีที่หลวงพ่อท่านได้พัฒนาวัดจนเจริญรุ่งเรืองขึ้น ท่านจึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี ที่พระครูสุตาธิการี

         หลวงพ่อทองอยู่ ปกครองวัดเรื่อยมาจนถึงแก่มรณภาพลงด้วยโรคชราเมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ นับรวมสิริอายุได้ ๙๖ ปี ๙  เดือน ๙ วัน  ๖๕ พรรษา.

 

ไม่มีคำถามสำหรับรายการนี้